The Fourth Industrial Revolution ( การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 )
The Fourth
Industrial Revolution
การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4
การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 1
การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งแรกเกิดขึ้นในประเทศอังกฤษช่วงปี ค.ศ. 1760 หรือ 258 ปีก่อน เป็นการปฏิวัติจากแรงงานคนและสัตว์มาเป็น “เครื่องจักรไอน้ำ” ทำให้งานที่ต้องใช้แรงงานซ้ำ ๆ ถูกทดแทนด้วยเครื่องจักรไอน้ำและใช้ถ่านหินเป็นพลังงานทางการผลิตในยุคนี้มีสัญลักษณ์ที่สำคัญคือ “เครื่องทอผ้า” การทอผ้าจากที่เคยเป็นเรื่องยากใช้เวลาในการทำและใช้แรงงานคนมากมาย เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นการใช้เครื่องจักรไอน้ำทำให้เสื้อผ้ามีราคาที่ถูกลงผู้คนเข้าถึงสินค้าที่ดีในราคาที่ถูกได้ง่ายขึ้นในทางกลับกันการปฏิวัติครั้งนี้ก็ส่งผลกระทบต่ออาชีพแรงงาน เช่น แรงงานทอผ้ามากมายในประเทศอังกฤษค่อย ๆ หายไป
การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 2
การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งถัดมาเกิดขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกา ช่วงปี ค.ศ. 1870 เป็นการเปลี่ยนแปลงจากพลังงานถ่านหินมาสู่การใช้พลังงานไฟฟ้า ก๊าซและน้ำมัน ด้วยระบบไฟฟ้าและการใช้สายพานในขบวนการผลิต ส่งผลให้เกิดการผลิตจำนวนมหาศาลอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ทำให้ประสิทธิภาพในการผลิตเพิ่มสูงขึ้นและต้นทุนการผลิตลดลง จึงเกิดเป็นยุคที่มีสินค้าเหมือนๆกันจำนวนมาก หรือที่เรียกกันว่า Mass Production ทำให้โรงงานที่มีขนาดใหญ่ก็จะยิ่งได้เปรียบในการประหยัดต่อขนาด หรือ Economy of scale
การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 3
การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งนี้ได้พัฒนาจากครั้งที่ 2 การเกิดขึ้นของไฟฟ้านำมาสู่การพัฒนาระบบไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเลกทรอนิคส์ สิ่งสำคัญที่เกิดขึ้นในยุคนี้คือ “คอมพิวเตอร์” คอมพิวเตอร์เครื่องแรกเกิดขึ้นในปี ค.ศ.1946 และนำเข้ามาใช้ในอุตสาหกรรมเมื่อปี ค.ศ. 1970 ทำให้เกิดการผลิตแบบอัตโนมัติขึ้น ส่งผลให้ขบวนการผลิตมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้นกว่าเดิม ในปัจจุบันนี้แทบทุกโรงงานต่างมีระบบการผลิตแบบอัตโนมัติเข้าไปเป็นส่วนช่วยในการผลิต ทำให้ต้นทุนในการผลิตถูกลง สินค้ามีราคาที่ถูกยิ่งกว่าเดิม ส่งผลดีต่อผู้บริโภค
และในยุคปัจจุบัน ได้มีการปฎิวิติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4
เมื่อระบบอินเตอร์เน็ตถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลายจนเกิดผลการเชื่อมโยงการผลิตทั้งฮาร์ดแวร์(ระบบปฎิบัติการ)และซอฟต์แวร์(ระบบการควบคุม สั่งการ) นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่อย่างฉับพลันหรือถูกนิยามว่าเป็นยุคอุตสาหกรรม4.0ที่เกิดการเชื่อมโยงห่วงโซ่คุณค่าของโลกหรือการหลอมรวมเทคโนโลยีอย่างบูรณาการของหลายภาคส่วนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทาง สังคม เศรษฐกิจ และ การเมือง
ผลกระทบจากการปฎิวิติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4
จะส่งผลกระทบต่อหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นในด้านเศรษฐกิจ ตัวแปรทางเศรษฐกิจมหภาคคาดว่าจะถูกกระทบทั้งหมด โดยเฉพาะการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การจ้างงาน และผลิตภาพการผลิต การทดแทนแรงงานโดยเครื่องจักรเป็นประเด็นที่สำคัญระดับโลก เพราะ งานวิชาชีพจะได้รับผลกระทบจากระบบอัตโนมัติด้วย อาชีพต่างๆ เช่น พนักงานขายทางโทรศัพท์ ผู้เตรียมเอกสารภาษี ผู้ประเมินความเสียหายด้านประกันภัยรถยนต์ เลขานุการ พนักงานต้อนรับในร้านอาหาร แรงงานเกษตร คนส่งพัสดุ มีโอกาสกว่า 90% ที่จะถูกแทนที่ด้วยระบบอัตโนมัติ นอกจากนั้นจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจอย่างมากด้วย เพราะ ความคาดหวังของผู้บริโภคกำลังจะเปลี่ยนไปจากสิ่งที่เทคโนโลยีสมัยใหม่ทำได้ ผลิตภัณฑ์จะได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้นด้วยข้อมูล เกิดความร่วมมือใหม่ๆ และ วิถีการทำธุรกิจจะเปลี่ยนไปสู่ระบบดิจิทัลใหม่ๆ นอกจากนั้นผลกระทบที่จะส่งผลต่อตัวเรา อนาคตอันใกล้นี้การเลิกจ้างแรงงานมนุษย์ จะหลีกเลี่ยงได้ยาก ถ้าสายงานมีคู่แข่งเป็นสมองกลหรือหุ่นยนต์แรงงานอาจจะตกงานและ ถูกแทนที่โดยหุ่นยนต์ได้ ดังนั้นเราจึงต้องมีการเตรียมตัว เตรียมความพร้อม ทั้งด้าน ความคิด ความรู้ทักษะ ที่จะต้องปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต
เคลาส์ ชวาบ (Klaus Schwab) นักเศรษฐศาสตร์ชื่อดังของโลก ผู้ก่อตั้ง และ ประธานบริหารของสภาเศรษฐกิจโลก ได้เขียนหนังสือ การปฎิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 (The Fourth Industrial Revolution)
เขาได้กล่าวถึงการปฎิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ว่า “One of the features of this Fourth Industrial Revolution is that it does not change what we are doing, but it changes us” จากข้อความนี้ผู้เขียนเห็นด้วยว่า การไม่เปลี่ยนแปลงสิ่งที่เรากำลังทำอยู่ แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เรา เพราะ เราต้องปรับตัวให้เข้ากับการปฎิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4
การรับมือกับการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 จำเป็นต้องมีทักษะและลักษณะบางประการดังต่อไปนี้
(1) ทักษะการแก้ไขปัญหา
(2) ทักษะการคิดวิเคราะห์
(3) ทักษะการคิดสร้างสรรค์
(4) ทักษะการบริหารจัดการบุคคล
(5) ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น
(6) ทักษะการมีวุฒิภาวะทางอารมณ์(EQ)
(7) ทักษะการตัดสินใจ
(8) ทักษะการเจรจาต่อรอง
(9) การมีใจรักบริการ
(10) ความยืดหยุ่นทางความคิด
(1) ถึง (8)
ข้างต้นคือทักษะหรือความสามารถในการกระทำสิ่งหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นจากการฝึกฝน ส่วน “การมีใจรักบริการ”
นั้นชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของงานบริการ ไม่ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศจะก้าวหน้าอย่างใด
มนุษย์ก็ยังคงเป็นมนุษย์อยู่เสมอ โดยปรารถนาจะได้รับบริการที่ดี
ซึ่งคุณลักษณะเช่นนี้สามารถฝึกหัดให้เกิดขึ้นได้เสมอ
ข้อมูลเยอะดี สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ แต่ยังข้อผิดพลาดเรื่องคำที่ใช้เล้กน้อย และด้วยข้อมูลที่เยอะจนมากเกินไปอาจจะทำให้ไม่ค่อยน่าอ่าน
ReplyDeleteข้อมูลรายละเอียดดีมากเลยค่ะ อ่านแล้วเข้าใจง่ายและเห็นภาพตามเลยค่ะ
ReplyDeleteรูปแบบการจัดทำดีมากทำให้น่าอ่าน ข้อมูลเยอะ ครบถ้วน อธิบายได้ละเอียดดี
ReplyDeleteจัดทำได้อ่านง่ายและตรงประเด็น มีความน่าสนใจอย่างมาก เนื้อหาสาระกระชับดีคับ
ReplyDeleteรูบแบบการจัดเนื้อหาอ่านง่ายและข้อมูลเยอะละเอียดครบถ้วน มีภาพประกอบที่ช่วยทำให้น่าอ่าน
ReplyDeleteเนื้อหามีความชัดเจนและบ่งบอกได้อย่างขัดเจนถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น
ReplyDeleteเนื้อหาละเอียด ชัดเจน เข้าใจง่าย มีรูปภาพประกอบทำให้ไม่น่าเบื่อ ชอบมากเลยค่ะ ได้ประโยชน์มากเลย
ReplyDelete