CYBERBULLYING การระรานทางไซเบอร์

 

CYBERBULLYING

การระรานทางไซเบอร์

            


 

“ การระรานทางไซเบอร์ ” หรือ ที่เรารู้จักกันอย่างแพร่หลายว่า “การ Cyberbully” คือ การกลั่นแกล้ง คุกคาม หรือ ระรานผู้อื่นโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ผ่านโซเชียลมีเดีย การส่งข้อความ การเล่นเกม และ โทรศัพท์มือถือ การ Cyberbully เป็นพฤติกรรมที่มักเกิดขึ้นซ้ำ ๆ โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างความหวาดกลัว ยั่วโมโห หรือสร้างความอับอายให้แก่ผู้ที่ตกเป็นเป้าหมาย


การกลั่นแกล้งกันในโลกออนไลน์ มี 6 รูปแบบดังนี้

 Cyber bullying | 0800 What's Up?

1. การโจมตี ขู่ทำร้ายหรือใช้ถ้อยคำหยาบคาย

การโพสต์ด่าทอ พูดจาส่อเสียด ให้ร้าย หรือขู่ทำร้าย ผ่านช่องทางการสนทนา หรือ โพสต์อย่างโจ่งแจ้งที่หน้าโซเชียลมีเดียของผู้ถูกกระทำ

2. การคุกคามทางเพศแบบออนไลน์

โดยการพูดจาคุกคามทางเพศผ่านโซเชียลมีเดียการบังคับให้แสดงกิจกรรมทางเพศผ่านกล้องการส่งภาพหรือวิดีโอโป๊เปลือยมาให้โดยที่ผู้รับไม่ได้ต้องการ การแฉหรือตัดต่อภาพโป๊เปลือยไปโพสต์ในโซเชียลเพื่อให้ได้รับความอับอายเป็นต้น

3. การแอบอ้างตัวตนของผู้อื่น

โดยเฉพาะกรณีเปิดเผยรหัสผ่านของโซเชียลให้ผู้อื่นรู้ ยกตัวอย่าง เช่น ให้ เพื่อนสมัครเฟซบุ๊กหรือไลน์ให้กรณีนี้ก็อาจโดนรังแกด้วยการถูกสวมรอย ใช้เฟซบุ๊กของตัวเองโพสต์ข้อความหยาบคาย ให้ร้ายบุคคลอื่น หรือสร้างความเสียหายในรูป แบบต่าง ๆ

4. การแบล็กเมล์กัน

โดยนำความลับหรือภาพลับของเพื่อนมาเปิดเผยผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ มีการแชร์ต่อกันไปอย่างกว้างขวาง หรือ การใส่ร้ายป้ายสี

5. การหลอกลวง

มีทั้งการหลอกลวงให้หลงเชื่อให้ออกมานัดเจอเพื่อทำมิดีมิร้ายหรือการหลอกลวงให้ผู้เสียหายโอนเงินไปให้ด้วยวิธีการต่าง ๆ

6. การสร้างกลุ่มในโซเชียลเพื่อโจมตีโดยเฉพาะ

อย่างที่เราเห็นคนตั้งเพจแอนตี้โจมตีบุคคลหนึ่งขึ้นมามีการจับผิดทุกอิริยาบถแล้วนำมาถกประเด็นให้เกิดความเสียหายต่อคนที่ตัวเองไม่ชอบหรืออาจมีการโน้มน้าวให้คนอื่นรู้สึกรังเกียจและกีดกันให้ออกจากกลุ่มจากสังคมที่อยู่

  

ทั้งนี้การกระทำที่เข้าข่าย Cyberbullying จะเกิดจากเจตนาที่มุ่งร้ายให้อับอาย เจ็บใจ และเสียใจ ดังนั้นการกลั่นแกล้งกันบนโลกออนไลน์จึงมักจะเป็นการกระทำซ้ำ ๆ ไม่ใช่เพียงครั้งเดียวแล้วเลิก และในเมื่อเป็นสื่อสังคมออนไลน์ การกลั่นแกล้งในรูปแบบนี้จึงทำได้ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่จำเป็นต้องเจอหน้ากันจะจะถึงจะกลั่นแกล้งได้


Cyberbullying สาเหตุคืออะไร ?

          สาเหตุของการเกิด Cyberbullying มีทั้งเริ่มจากความขัดแย้งเล็ก ๆ ความหมั่นไส้กัน หรือมีกรณีพิพาท อันเป็นชนวนของการรังแกกันต่อในโลกออนไลน์ เนื่องจากพื้นที่บนโลกออนไลน์ไม่ต้องเปิดเผยตัวตน ด้วยเหตุนี้จึงมีความกล้าที่จะรังแกกันมากขึ้น

          นอกจากนี้คนส่วนใหญ่ยังเข้าใจว่า โซเชียลคือพื้นที่ระบายความรู้สึก ถ้อยคำที่ใช้โพสต์ หรือพฤติกรรมในการกลั่นแกล้งกันจึงออกแนวรุนแรง แสดงอารมณ์ออกมาได้อย่างเต็มที่ อีกทั้งเทคโนโลยียังเอื้อให้การทำร้ายกันผ่านโซเชียลเป็นเรื่องง่าย แค่พิมพ์ข้อความไป ไม่ต้องเสียกำลังอะไรก็โพสต์เสียดสีหรือสร้างความเสียหายให้อีกฝ่ายได้แล้ว


ผลกระทบของCyberbullying

สำหรับผู้ถูกกลั่นแกล้ง ผลกระทบทางจิตใจ เช่น อับอาย หวาดกลัว หวาดระแวง หดหู่ รู้สึกโดดเดี่ยว เศร้าหมอง ท้อแท้ สิ้นหวัง ไร้ค่าผลกระทบต่อร่างกาย เช่น นอนไม่หลับ อ่อนเพลียเรื้อรัง เจ็บป่วย ทำร้ายตัวเอง และอาจรุนแรงถึงขั้นพยายามฆ่าตัวตาย

    สำหรับผู้ที่กลั่นแกล้งคนอื่น อาจจะได้รับผลกระทบในภายหลังได้เช่น เกิดความรู้สึกผิดกับสิ่งที่เคยทำกับผู้อื่น ลงโทษตัวเองหรืออาจจะเป็นอีกด้านหนึ่งคือ เสพติดความรุนแรงจนกลายเป็นอาชญากร


ประสบการณ์จากCyberbullying

      มาจากคนใกล้ชิดของผู้เขียน ซึ่งเป็นเพื่อนในชั้นเรียนสมัยมัธยมต้น ได้ถูกกลั่นแกล้งจากการโดนล้อเลียน เนื่องจาก เพื่อนมีความผิดปกติทางด้านร่างกาย ทำให้โดนล้อหรือพูดส่อเสียดผ่านช่องทางการสนทนาและโพสต์อย่างโจ่งแจ้งที่หน้าโซเชียลมีเดียของเพื่อน


การจัดการเมื่อถูก Cyberbullying

1. อย่าตอบสนองข้อความกลั่นแกล้ง ไม่ว่าข้อความนั้นจะรุนแรงต่อเราขนาดไหน ก็อย่าเขียนตอบโต้ เพราะจะทำให้สถานการณ์แย่ลงและนั่นเป็นสิ่งที่ผู้ระรานต้องการให้เกิดขึ้น

2. ไม่เอาคืน การแก้แค้นหรือตอบโต้ด้วยวิธีเดียวกันจะทำให้ไม่ต่างจากคนที่กลั่นแกล้งเรา อาจทำให้เรากระทำความผิดและเป็นจำเลยสังคมแทน

3. เก็บหลักฐาน บันทึกภาพและข้อความที่ทำร้ายคุณ เพื่อรายงานต่อผู้ปกครองหรือผู้บังคับใช้กฎหมาย

4. รายงานความรุนแรง ส่งข้อมูลรายงาน (report) ความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับทางโซเชียลมีเดีย

5. ตัดช่องทางการติดต่อ โดยลบ แบน บล็อก ทุกช่องทางการเชื่อมต่อกับคนที่มาระราน ระมัดระวังการติดต่อกับคนกลุ่มนี้ในอนาคต

 

Cyberbullying อาจไม่ได้ยังให้ผู้ถูกกระทำต้องจบชีวิตลงอย่างน่าเศร้าในทุกกรณี แต่มันพร้อมจะฝากรอยแผลไว้ในใจเสมอ ไม่มีใครสมควรจะต้องถูกกระทำให้อับอายหรืออยู่ในสภาพทุกข์ทรมานเช่นนั้น ดังนี้เพื่อสังคมออนไลน์ที่น่าอยู่ เราทุกคนพึงมีสติก่อนการพิมพ์ข้อความ กดไลก์ กดแชร์ และพึงตรวจสอบให้แน่ใจว่าสิ่งที่เราทำไม่ได้กำลังทำร้าย หรือ ร่วมทำร้ายใครอยู่ ด้วยว่าบางครั้งเราอาจจะไม่รู้ตัว

 

เพราะการกลั่นแกล้งนั้นง่าย แค่เพียงปลายนิ้วสัมผัส


ที่มา :  http://www.thaindc.org/images/pulldown_1485785805/SR%203%2063.pdf

https://wellness.chula.ac.th/?q=th/node/91




Comments

  1. จะลองทำไปใช้นะคะ ขอบคุณที่เขียนบทความดีๆขึ้นมาาาค่ะ

    ReplyDelete
  2. เนื้อหาดี ระเอียด เข้าใจง่าย มีรูปภาพประกอบ ตัวอักษรเห็นชัด ชอบมากเลยค่ะ

    ReplyDelete
  3. รูปแบบการจัดดีมากเลยค่ะ เนื้อหาอ่านแล้วเข้าใจง่ายมากๆ

    ReplyDelete
  4. ข้อมูลดีมากเลยค่ะ อ่านแล้วไม่หน้าเบื่อ ไม่มากหรือน้อยจนเกินไป กระชับและเห็นภาพมากค่ะ

    ReplyDelete
  5. เนื้อหากระชับดีครับ สรุปได้ตรงประเด็น ตัวหนังสือก็อ่านง่ายครับ

    ReplyDelete
  6. ดีมากกกก อ่านละเห็นภาพเลย

    ReplyDelete
  7. เนื้อหาดีมาก ละเอียด องค์ประกอบสวยงามค่ะ

    ReplyDelete
  8. ตัวหนังสือใหญ่เกินไปทำให้อ่านยากนิดหน่อยค่ะ

    ReplyDelete

Post a Comment

Popular posts from this blog

The Fourth Industrial Revolution ( การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 )